การพันหม้อโช๊คสำหรับหรับเครื่องเสียงหลอด (Choke Filter) ใช้แก้อาการฮัม

ในเครื่องเสียงหลอดอาการจี่ฮัมที่เกิดจากการกวนของแม่เหล็กไฟฟ้า และริบเบิ้ล จะปรากฏพบเห็นบ่อย ๆ
อาจารย์สอนมาว่า การฮัมมี 2 ชนิด คือ
1.จี่ฮัมจากไฟ AC
2.จี่่ฮัมจากไฟ DC
การจะแก้อาการจี่ฮัมจะต้องรู้ก่อนว่ามันเกิดจากไฟอะไร
วิธีสังเกตุง่ายๆ คือ หากเราลดวอลลุ่มลงสุดแล้วยังมีจี่ฮัม แสดงว่า จากไฟ AC
หากลดสุดแล้วเงียบเกิดจากไฟ DC
หรือร้ายแรงมากเกิดทั้สองอย่างเลย ถ้าใครเจอขนาดนั้นแล้วขอให้เลิกทางนี้ได้เลย ทำไปก็ไม่รุ่งเรืองแน่นอน(555)

เรื่องจี่ฮัมพบเจอกันทุกคนโดยเฉพาะมือใหม่หัดทำ ตลอดจนมือเก่าเก๋าก็ไม่เว้น วิธีแก้แบบง่ายสุดก็คือการกรองไฟ หรือ filter
ปกติแล้วการ filterไฟ DC ใช้ในเครื่องเสียงหลอด จะใช้อุปกรณ์ 3 อย่าง คือ R C L
R= resister
C= Capacitor
L= Coil
มือเก๋าจริง ๆ จะใช้ 2 อย่างคือ R และ C เรียกว่า RC Filter  แต่มือใหม่จะต้องใช้ L
มาร่วมด้วย  แต่ก็พบบ่อย ๆ ว่ามือเก๋าขนาดไหนก็ใช้ L ร่วมเสมอ เขาบอกว่า มันทำให้เสียง
ที่ได้ มี3 ส.เพิ่ม คือ สงัด สะอาด สดใส มากขึ้น

ผู้เขียนเคยใช้บัลลาสท์หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออน 13 วัตต์มาทำโช๊คฟิลเตอร์แทน
ก็ใช้ได้เช่นกันเสียงจี่ฮัมหายเป็นปลิดทิ้งเหมือนกัน  แต่การใช้บัลลาสท์ดังกล่าวจะใช้ได้ดีกับ
เครื่องที่กินกระแสน้อย ๆ หากมีกระแสมากหรือไม่มั่นใจพันโช๊คฟิลเตอร์ใช้เลยตัวไม่กี่บาท

ค่าบ๊อบบิ้น2ชั้น +เหล็ก+ฝาครอบ ตัวละ ไม่ถึงร้อบบาท +ค่าลวดเบอร์27-28 ประมาณ 1 ขีด
60 บาท(กิโลละ600บาท) รวมก็ไม่ถึง 200 บาท  เพราะขึ้นใช้บัลลาสท์ นาน ๆ อาจเกิดความร้อนสะสม
สักวันจะควันขึ้นที่หม้อแปลงไฟ เสียหายเป็นวงกว้างแน่นอน

รู้สรรพคุณแล้ว เรามาพันโช๊คใช้กันเลย ของง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้ ขอให้มีใจใฝ่ทำ เมื่อก่อน
ผู้เขียนก็จ้างเขา เห็นว่ามันแพงเกินเหตุ เลยเสาะแสวงหาความรู้ ที่หายากเย็นมาก เมืองไทยไม่มีใครปล่อย
ต้องไปหาจากตำราฝร่ั่งพอได้ข้อมูลมาลองทำ ครั้งสองครังก็สำเร็จได้  จึงขอเผยแพร่ความรู้อันเป็นของคู่โลกนี้
ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ใครอยากรู้เรียนเอา เรียนสืบต่อกันไว้อย่าให้สูญหายไปจากโลก

เริ่มเลย
ข้างล่างนี้คือสูตรการคำนวณ ใครเห็นว่ามันยุ่งยากก็ข้ามไปจับเอาสาระที่ต้องการ
คือ  1 เบอร์ลวด 2.จำนวนรอบ 3. ขนาดบ๊อบบิ้น 4.ขนาดช่องแก็ปอากาศ ก็พอ
แค่นี้ก็พันได้แล้ว ดูวิธีข้างล่าง

สูตรที่1

LP=5 henry
แกน 26*26 or 76.2×26
gap=ip*0.004275 = 200*0.004275
= 0.855/2=0.43 mm
ต่อ ไปหาค่า ua
ua=1/(1/uiron)+(lgap/lpath)
ua= 1/(1/600)(0.43/167)=234
Np=sqrt[ lp*10^8(lm/24.5)]/3.192*(A/645.2)*ua
= 5*10^8*(140/25.4)/[3.192*(784/645.2)*234
=sqrt(2750000000/907.5)
=1740 รอบ
ใช้ลวดเคลือบน้ำยาเบอร์ 28

การพัน ให้ใช้บ๊อบบิ้น 2 ชั้น พันชั้นตามที่คำนวน ใช้ปลายแรก จับกับปลายแรก
ปลายจบจับกับปลายจบ ฟั่นกันได้ 2 ปลาย ปลายแรกเป็น In ปลายจบเป็น Out
การใส่เหล็ก ใส่ E สลับซ้ายขวาไปจนจบ แล้วเติมตัว I
Gap คือเส้นกั้นชั้นของบ๊อบบิ้นนั่นเอง

สูตรที่ 2

ใช้บ๊อบบิ้นสองชั้น ขนาด 66×35
ลวดเคลือบน้ำยาเบอร์ 28
3H = 1,302 รอบ
5H = 1,689 รอบ
Air Gap = 0.5343mm