ผมไปบ้านพี่ที่รู้จักและพี่เขามีเครื่องเสียงประมาณ 30เครื่อง(จริงๆนะครับ) เป็นเครื่องหลอด 99%
ส่วนมากเป็นเครื่องนอกระดับไฮเอนด์ เช่น Cary SML100 monoblock ทั้งเซ็ต, AudioReseaech D90
HOUSTON GPS-02, Cambridge, etc ลำโพงก็เป็น Polke Audio ประมาณนี้ ส่วนที่เป็นเครื่อง DIYก็มี
หลายเครื่องเหมือนกัน ผมไปบ้านพี่คนนี้ในฐานะผู้ดูแลเครื่องเหล่านี้ ทุกเครื่องผ่านมือผมในการปรับจูน
แล้วทั้งนั้นจึงคุ้นเคยกับเครื่องเหล่านี้ได้ดีพอสมควร
มีอยู่อีกเครื่อง เป็นแอมป์ขนาดเล็ก เป็นชนิด DIY เป็น single end เป็เพาเวอร์ 2 หลอด หัวจุก
มีหลอดไดรว์ 2 หลอด ดูรูปร่างภายนอกแล้ว ฝุ่นจับเขรอะเลย หน้าตาขี้เหร่มาก ถ้าเทียบกับเครื่อง
ที่กล่าวมา มิน่าละ พี่เขาไม่เปิดฟังเลย ผมไปค้นเจอที่ห้องเก็บของหลังบ้าน จึงเอามาถามพี่เขาว่า
เครื่องนี้มันเป็นอะไร มันเสียหรือเปล่า เห็นฝุ่นจับเต็มเลย พี่เขาตอบว่า ไม่เสีย ยังใช้ได้ ลองเปิดดูสิ..
ผมจึงต่อเครื่องเข้ากับลำโพงหาเครื่องเปิดเพลงมาต่อเข้า พอเสียงออกมาเท่านั้นแหละ ตาค้างเลย..
เสียงเบสออกพอสมควรตามลักษณะเครื่องหลอด เสียงกลาง ใสและกังวาน แหลม สดใสมีปลายพริ้ว
ผมสนใจขึ้นมาทันทีว่ามันเครื่องอะไร ทำไมเสียงดีอย่างนี้ พอมาดูชัด ๆ หลอดเพาเวอร์ PL36 tele
funken หัวจุกหลอดไดรว์ EF184 telefuken หงายเครื่องดู ค่อนข้างรกรุงรัง นั่งพิจารณาพร้อมกับ
ฟังไปด้วยอยู่ครึ่งวัน ตกลงใจจะโคลนนิ่งเครื่องนี้เอาไว้ใช้ส่วนตัวในห้องทำงาน…วันต่อมา..
อันดับแรก ค้นหาหลอดเบอร์นี้ทางอากู๋ ได้ผล มีอยู่ที่ร้านขายในกทม. ราคาหลอดละ 400 บาท มี4 หลอด
ยี่ห้อ Amperax Germany ได้การละ สั่งซื้อทันที ประมาณ 3 วันหลอดมาถึง ในขณะนั้นก็ตามหาหลอด
EF184 ไปด้วย เน้นยี่ห้อ telefunken ตามเครื่องต้นแบบ เจอแต่ของญี่ปุ่น ราคาหลอดละ 350 บาท
ขอผ่าน แต่คนขายก็เสนอ telefunken มาหลอดละ 700 บาท ผมเห็นว่า ทำไมมาเสนอตอนที่เรา
ไม่รับหลอดญี่ปุ่น และบอกว่าอยากได้หลอด tele เมื่อก่อนทำไมไม่ลงไว้ น่าสงสัย เพื่อความปลอดภัย
ขอผ่านดีกว่า ถ้ารับและโอนเงิน อาจถูกบล๊อคเพจให้เจ็บกระดองใจ
พอมาค้น Google หา pl36 schematic ก็เจออีก แต่ ไม่เหมือนเครื่องต้นแบบตรงที่ หลอดไดรว์ใช้
EF183 แทนที่จะเป็น EF184 ตามต้นแบบ แต่อย่างไรก็ save ไว้ก่อน เลยมาค้นดู EF184 Datasheet
EF183 จึงได้รู้ว่า EF184 ทำขึ้นมาแทน EF183 นั่นเอง คุณสมบัติทางไฟฟ้าเหมือนกันทุกประการ
จึงมั่นใจได้ว่าวงจรที่ได้คือวงจรเครื่องต้นแบบจริงๆ เอาละคราวนี้ขาดหลอดไดรว์เท่านั้น ส่วนเอาพุท
และหม้อแปลงไฟ หมดห่วงเพราะพันเองได้ พันมาหลายต่อหลายชุดแล้ว ประสาอะไรกับแค่เครื่อง se
เล็ก ๆ พัน 2 วันก็เสร็จแล้ว
มีอยู่วันหนึ่ง ท่องเพจกลุ่มแอมป์หลอดไปเจอคนขายหลอด telefunken เป็นกอง ทั้งประมาณ 10 หลอด
1,500บาท มองเห็นมี EF184 ด้วย จึงทักไป คนขายบอกว่า มี EF184 5 หลอด เป็นหลอด NOS
ซะด้วย ผมขอซื้อ 4 หลอด เขาขายให้ 800 บาท+ค่าส่ง 50 บาท โอนเงินทันที เพราะคนขาย
อยู่ในเพ็จนี้มานานรู้จักดีไม่น่าจะโกงแน่นอน รออยู่ 5 วันของมาถึงเพราะคนขายส่งแบบลงทะเบียน
ตอนแรกเข้าใจว่า EMS แต่ก็ช่างเถอะของมาถึงแล้ว ตอนนี้ก็มาเป็นช่วงที่จะต้องเป็นผู้พันขึ้นมาทันที
เริ่มจากพันเอาพุท se 17w 1 คู่ ใช้เวลา 1 วัน พันหม้อแปลง ขนาดกลาง 1 ตัว secondary
มีขดไฟสูง 220v-0v ขดไฟต่ำ 6.3v-0,25v-0v รวม 3 ขด ของเล่นไม่ยาก จัดการ 1 วันเสร็จ
แท่นมีแล้ว รียูสเอาแท่นกระเทยน้อยมาใช้ ขนาด 25×17 cm ลงตัวพอดีสวยเลย
ได้ฤกษแล้ว 10-12-62 วันรัฐธรรมนูญ ลงมือจัดหามวลสาร ไม่ว่าจะ resistor capacitor wire,
และสิ่งจำเป็นอื่น พร้อม ลงมือลุย
1.เจาะแท่น ให้มีรู ครบตามผังที่ทำไว้ ติดตั้งซ็อกเก็ตครบ
2.ติดตั้งหม้อแปลง เดินสายไฟต่ำไปขั้วซ๊อคเก็ต เพื่อเป็นไฟจุดไส้หลอด ทั้หลอดเอาพุทและหลอดไดรว์
3.ติดตั้งเอาท์พุท ติดตั้งสายลำโพง ขั้ว 8 โอห์มเข้าขั้ว+ 0โอห์ม เข้าขั้วลบ และจากขั้วลบ
ต่อไปลงกราวนด์ที่กราวนด์บัสด้วย(ไม่ใช่กราวนด์ไฟสูงนะครับ แยกกราวนด์)
4.ติดตั้งสวิทซ์ วอลลุ่ม ฟิวส์ เต้า IEC
5.ติดตั้ง bridge Diode เชื่อมสายไฟ(อย่าเพิ่งต่อ c1 c2 c3 c4 นะครับ)
เช็คไฟ
โดยการเปิดสวิทซ์ให้ไฟเข้าผ่านบริดจ์ไดโอด อย่าลืมปลั๊กต้องเสียบเข้าเต้าเสียบของรางไฟที่ทำ
มาเพื่อเช็คไฟซอร์ตได้ จะปลอดภัย รางดังกล่าวผมได้เขียนวิธีทำให้แล้ว หาดูในเว็บไซต์นี้เลย
ถ้าเปิดสวิทซ์แล้วรางไฟมีหลอดเช็คจะสว่างแล้วหรี่ลง แสดงว่าไฟไม่ซอร์ตภายใน ต่อถูกต้อง
ต่อจากนั้นให้ใช้มิเตอร์ตั้งย่านวัดไฟ DC 1000v วัดดูไฟออกจากไดโอด ว่าได้ตามหม้อแปลงหรือไม่
เช่นหม้อแปลงไฟด้านไฟออก 230 v วัดที่ไฟออกก็จะได 230 vเท่านั้น อย่าเพิ่งไป x1.414 นะครับ
เพราะยังไม่ผ่าน c1 c2 c3 c4 ค่อยไปว่ากันอีกที ตอนนี้จะเช็คแค่ ไฟสูงออกเป็นไปตามสเปคหรือไม่
ไฟต่ำ หรือไฟจุดไส้หลอด ทั้งหลอดเล็ก หลอดใหญ่ เป็นไปตามสั่งพันมาไหม เช็คให้แน่ใจ
ไฟต่ำไม่ได้ผ่านไดโอดต้องตั้งมิเตอร์ย่านวัดไฟ AC นะครับเอาสัก 200v ก็พอเพราะแค่นี้ก็บอกถึง
ทศนิยมแล้ว เช่น 2.5v,6.3v เป็นต้น
ถึงตรงนี้ขอพูดถึงกราวนด์หน่อย คือ กราวนด์ มี 2 กราวนด์นะครับ
1.กราวนด์ไฟสูง คือจุดที่ลงแท่นเครื่องโดยเอาสายไฟ 0 vหรือขั้วลบของบริดจ์ไดโอดไฟสูงมาลง
ให้ลงรวมได้เฉาะไฟสูงเท่านั้น รวมทั้งสายดินของสายไฟ AC ห้ามอย่างอื่นเด็ดขาด
2.กราวนด์บัส คือกราวนด์ของวงจร ให้เดินลวดเส้นขนาด1.5-2 mm รอบ ครอบคลุมบริเวณวงจร
และทุกอย่างที่ลงกราวนด์ลงตามเส้นลวดเหล่านี้เท่านั้น และนำปลายเส้นลวดนี้ไปลงที่จุดไฟสูงลง
เพียงข้างเดียว ห้ามลง 2 ข้าง อีกอย่างสาย 0 ของลำโพงและสายกราวนด์ของ input ก็ลงที่
เส้นลวดนี้
แยกกันนะครับอย่าเอาไปปนกันและอย่าลงซ้ำซ้อน ถ้าเคยลงแล้วอย่าไปลงจุดอื่นอีกเด็ดขาด
เดี๋ยวจะเกิดกราวนด์ลูป หรือไม่ก็กราวนด์หลุด แรงดันจะเพิ่มขึ้นจนหงายหลังเลยนะครับ
การบัดกรีต้องบัดกรีให้แน่ใจว่าแน่นแน่นอน ไม่ใช่กราวนด์หลิด ๆ ตุด ๆ (หลุด ๆ ติด ๆ คำนี้
ผมจำมาตั้งแต่สมัยเรียนจนเดี๋ยวนี้)
หลังจาก 10 นาทีผ่านไป ปิดเครื่อง ไม่ต้องดิสชาร์จ เพราะไม่มีไฟเก็บที่ตัวเก็บประจุ
ลงมือไวริ่ง
เครื่องตามวงจร ใจเย็น ๆ การไวริ่ง มือใหม่ ควรทำจากจุด input –> output ตามลำดับ อย่าลัด
ขั้นตอนเด็ดขาดเดี๋ยวจะงงเอง ถ้ามือเก๋าแล้วทำอย่างไรก็ไม่มีใครว่า เมื่อเสร็จแล้ว
พักเดินไปสูดอากาศข้างนอกอันบริสุทธิ์ก่อน หลังดมควันตะกั่วมาหลายชั่วโมง เรื่องนี้สำคัญมาก
เพราะเกี่ยวพันกับสุขภาพระยะยาว ควรป้องกันโดยใส่แมส ถ้าอยู่ในห้องแอร์ควรมีพัดลมระบายอากาศ
ผมมีเทคนิคมาบอก คือเวลาบัดกรีตะกั่วให้ผิวปาก จะเป็นเพลงหรือไม่ก็ได้ บางทีก็เป่าลมออกยาววว
จนกว่าจะบัดกรีเสร็จ แล้วรีบโผล่หน้าออกประตูไปสูดเอาอากาศข้างนอกเต็มปอด อย่างนี้ก็คือ
การ save ตัวเอง ครับ
ไวริ่งเสร็จตรวจสอบตามวงจร 2-3 เที่ยว อย่าเข้าข้างตัวเอง หาทางจับผิดตัวเองให้ได้
เพื่อความปลอดภัย เรื่องนี้ผมเคยควันพุ่งมาแล้ว เพราะเข้าข้างตัวเอง บัดกรีสายไฟใส่จุดกราวนด์
โดยตรวจ 3 ครั้งก็ไม่เจอ เพราะสายไฟนั้นใช้สายสีดำ(มักง่ายเพราะคิดว่าสายสั้น ๆคงไม่เป็นไร)
เรื่องสีสายไฟกับสายกราวนด์แยกให้ชัดเจน ห้ามใช้แทนเด็ดขาด แดงคือไฟ+ ดำคือไฟ- หรือสายดิน
ตอนนี้มาถึงตอนสำคัญ คือการติดตั้งตัวเก็บประจุ หรือคาปาซิเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆว่า c จะมี ประมาณ
4 ตัว c1-4 หรือ c1 c2 c3 c4 แต่ละตัวมีความสำคัญดังนี้
c1 เป็นตัวแรกที่จะรับไฟจากบริดจ์ไดโอด หรือจากหลอด เรคติไฟร์ ในที่นี้ผมจะพูดแค่บริดจ์ไดโอด
คือตัวที่ใช้สายไปเข้า 2 ขั้ว ไม่มีสายแท็ปกลาง
c1 นี้จะใช้ค่าน้อย ๆเช่น 40uf-68uf/450v (ในกรณีไฟออก 230v x1.414=325.2v) และที่c1 ควร
ติด r 270 ohm/2w c.0.022/630v คร่อม เพื่อกันกระชาก และดิสชาร์จ เมื่อปิดสวิทซ์ ไฟจะไม่ค้างมาดูด
เวลาล้วงเข้าไปหยิบจับ โดยไม่ระวังตัว โดนกันมาเยอะ ถึงไม่ตายก็กระตุกที ขาสั่นได้นะครับ
ออกจาก c1ควรติดตั้งฟิลเตอร์โช๊ค ก่อนจะเข้า c2 c3 c4 ผมแนะนำ บัลลาสต์ 13w นะครับ ถ้าหาไม่ได้
เอา 18 w แทนได้ แบบ 13w=2.2 Henry 18w=1.2Henry แต่ 13w หายากหน่อย ผมได้ทำการทดลอง
มาพอสมควร เบื้องต้น เอาอยู่ ครับ เงียบสนิท ถ้าไม่ฮัมกระจายจริง ๆ ถ้าแบบกระจายก็ตัวใครตัวมัน
เลยนะครับ เครื่องของผม 100% บัลลาสต์ทั้งหมด มีคนบอกว่าเท่ดี จริงครับ เท่แน่นอน(เท่ ไม่มีห์นะครับ)
ราคาถูกด้วย 92 บาท Filter choke ของจริง 600-700 ต่อลูกประหยัด 6-7 เท่า เท่ไหมละ
สายบัลลาสต์สายที่หนี่งเข้าที่ขั้วไฟ c1 สายที่สองเข้าที่ c2 c3 c4 ค่าประมาณตัวละ 100uf/450v
ที่ต่อขนานกันไว้ เป็นแหล่งไฟหลักให้ไฟ B+ สองเส้นเข้าเอาท์พุททั้งสองตัว แล้วก็ต่ออีกเส้นเพื่อ
ไปเข้า c5 ค่าประมาณ 100uf/450v เพื่อไปเลี้ยงหลอดไดรว์ 2 หลอด อาจต่อไปหลอดละเส้น
เพื่อความชัวร์ เป็นอันจบเดินสายไฟ
ตรวจสอบความเรียบร้อยอีกที แล้วมาเดินสาย input และ vollume ทั้งสองรายการ ผมใช้สาย #22swg
โดยไม่ใช้สายชิลด์แต่อย่างใด ไม่เคยมีเสียงรบกวน เพราะหลีกเลี่ยง
1.อย่าพาดผ่านสายไฟเลี้ยงไส้หลอด
2.อย่าพาดผ่านไฟสูง
3.อย่าพาดผ่านหม้อแปลงและเอาท์พุท
ให้เดินเลียบไปกับขอบแท่น ให้สั้นที่สุด จุดกราวนด์ให้ลงที่เส้นลวดกราวนด์บัส ทั้งกราวนด์ input vollume
มาถึงจุดสำคัญจะส่งเสียงแล้ว ใส่หลอดเข้าตำแหน่งให้เรียบร้อย โยกหลอดดู แน่ใจแล้ว ใส่หมวกให้กับ
หลอดเพาเวอร์ให้แน่น ควรใช้ แจ๊คบานาน่า สวมเข้าให้แน่น
ตรวจสอบความเรียบร้อยให้ดี เอามิเตอร์ตั้งย่าน DC 1000v สายดำคีบที่จุดกราวนด์ สายแดงแตะอยู่ที่
จุดไฟรวม c2 c3 c4 เปิดไฟเข้า ถ้ามิเตอร์วิ่งขึ้นจนอ่านได้ตามสเปคเช่น 325v เป็นอันว่า 90 % แล้ว
รอสักครู่ไฟจะลดลงเรื่อยๆ แสดงว่าหลอดเริ่มทำงาน ถ้าเปิดแหล่งเสียงไว้ก็ จะมีเสียงแรกเล็ดลอดออกมา
ให้ชื่นใจ ร้อง ไชโย ๆ ๆ ๆ
ตอนนี้มาถึงตอนตรวจเช็คระบบ
1.วัดไฟจุดรวม ได้เท่าไหร่ จดไว้ (190v)
2.วัดที่หัวจุกแต่ละหลอด จดไว้(185v)
3.วัดที่ ขา 4 screen grid แต่ละหลอดได้เท่าไหร่จดไว้ (182v)
5.วัดที่ขา 8 หรือขั้ว+rk750ohm ได้ เท่าไหร่ จด(25v)
ถ้าได้ตามนี้หรือใกล้เคียง สบายใจได้เลย เวิร์คแน่นอน ถึงตรงนี้จะได้ยินเสียงที่ออกมามันเพราะจริงๆ
เหนือกว่าที่เคยได้ฟังมาแม้จะเป็น push pull หลอดเบอร์เทพ ๆ ก็ตาม ผมขอยอมรับว่านึกไม่ถึงว่าหลอด
นอกกระแสชุดนี้จะตรึงความรู้สึกของผมได้ถึงขนาดนี้ ผมไม่ได้บอกว่าผมเป็นเซียนหูทอง แต่ผมบอกว่า
เสียงดี คนอื่นก็มักจะว่าเสียงดีด้วย
ผมโคลนนิ่งเครื่องของพี่เขาสำเร็จจริง ๆ และถึงเวลาจะเอาเครื่องต้นแบบไปคืนแล้ว คงถึงเวลาไปเช็ค
เจ้าพวกเครื่องนอกอีกหลาย ๆ ตัวที่รอคิดเช็คอยู่ด้วย ผมลืมบอกไปว่าพี่คนนี้เขาเป็นเจ้าของปั๊ม ปตท.
ที่จังหวัดหนึ่งของภาคอีสาน ครับ
ปล.ผมไม่นิยมบันทึกเสียงมานำเสนอ เพราะเสียงที่ได้ไม่ถึงครึ่งเสี้ยวของเสียงจริง ครับ อยากฟังจริง
สร้างเลย ครับผมยินดีให้คำปรึกษา
บรรจุเข้าประจำการแทนเครื่องเก่า ที่สเปคสูงกว่า
อ.นิคม พ.เรียบเรียง
IDLine : kung991