Buffer คืออะไร ยังไม่รู้ แต่มันเป็นพระเอกมาช่วยให้เครื่องเสียงให้เสียงออกมาในแนวที่เราต้องการได้ในราคาจับต้องได้

buffer คืออะไร
ด้านคอมพิวเตอร์
buffer คือ ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่ใช้สำหรับพักข้อมูลเป็นการชั่วคราวในระหว่างทำการถ่ายทอด
หรือส่งผ่านข้อมูล เครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชนิดจะมี buffer ของตนเอง เช่น
เมื่อเราสั่งปริ๊นงานไปยังเครื่องพิมพ์ ข้อมูลที่จะให้ปริ้นต์จะถูกส่งมาที่ CPU เพื่อรอปริ้น
แต่ถ้าคุณสั่งปริ้นข้อมูลจำนวนหลายหน้า แล้วหน่วยความจำไม่พอ ก็จะต้องมีตัวที่เก็บข้อมูลที่จะปริ้นต์
ลงไปที่ไหนสักแห่งแทนหน่วยความจำซึ่งตัวเก็บข้อมูลแทนนี้คือ buffer นั้นเอง

ด้านเครื่องเสียง
บัฟเฟอร์หมายถึงวงจรที่ใช้ในการแยกระดับเสียงหรือวงจร preamp เป็นบัฟเฟอร์ระหว่างแหล่งสัญญาณ
และเครื่องขยายเสียงเนื่องจากเครื่องขยายเสียงจะลดภาระในเครื่องขยายกำลัง

Buffer เป็นวงจรที่ไม่ขยายสัญญาณ คุณสมบัติเฉพาะของมันคือมีอินพุตอิมพีแดนซ์ที่สูง
ทำให้ไม่โหลดสัญญาณเอาต์พุตของเครื่องที่เอามาต่อด้วย และมีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่ต่ำ
ทำให้สามารถขับโหลดได้ดี โดยสัญญาณไม่ตก ในวงการเครื่องเสียงมักเอามาใส่คั่นระหว่าง
เครื่องเล่นซีดีกับปรีแอมป์ หรือคั่นระหว่างปรีแอมป์กับเพาเวอร์แอมป์ จะได้เสียงที่มีรายละเอียดดีขึ้น
จะได้ดีแค่ไหนนั้นขึ้นกับคุณภาพของวงจร Buffer นั้น ๆ

ความแตกต่างของ preAmp กับ Buffer
preAmp นั้นจะมีเกนขยาย จะ 10 20 หรือ 100เท่า ก็แล้วแต่วงจร
Buffer เกนขยายจะเท่ากับ 1 เท่า หรือไม่มีเกนขยาย เข้าเท่าไหร่ออกเท่านั้นเพียงปรับปรุงคุณภาพ


เรานัก DIY คงเคยเห็นหลายคนกำลังเสาะหาหลอดในอุดมคติ มาสร้างแอมป์หลอดเป็นตัวโปรด
เพื่อใช้ฟังเอง บางคนก็ชอบ 300B หรือ 2A3 หรือ 211หรือ 845 ตามแต่ที่มีประสบการณ์ได้ฟังมา
แล้วเกิดความชอบ ชอบมาก ๆ จนเรียกว่าเป็นอุดมคติ แต่หลอดที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีข้อยาก
หลายประการ และยาก  จนหาไม่ได้  ด้วยเหตุผลของแต่ละคน เช่น ไม่มีแล้วโรงงานปิด ที่มีก็แพง
จนเอื้อมไม่ถึง ระดับหลอดละ เลข 6-7 หลัก บ้างก็บอกว่าพอหาได้  เป็นหลอดใหม่จากโรงงานตั้งใหม่
ราคาก็พอได้อยู่ไม่เกิน 5 หลัก แต่ใช้แรงดันไฟสูงถึงพันกว่าโวลท์ชนิดมิเตอร์ธรรมดาวัดไม่ได้ เพราะ
มัลติมิเตอร์ทั้งแบบเข็มและดิจิตอลวัดได้สูงสุด 1000 โวลท์ แต่ไฟที่จะใช้ 1200-3000 โวลท์
กลัวไฟดูดตายก่อน ไม่กล้าลงมือ จะทำอย่างไรละเมื่อชอบเสียง จะต้องหาวิธีให้ได้ฟังเสียงที่ชอบ
ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ผมเองก็อยู่ในจำนวนนั้นเหมือนกัน ไฟสูงไม่กลัวเท่าไหร่หรอก ระมัดระวังได้
แต่เงินซื้อหลอดไม่มีมากกว่าครับ

ไม่ได้แอมป์หลอดยอด ๆ เหล่านั้นก็มีวิธีอื่นแน่นอน ไม่ใช่จะมีทางออกเพียงทางเดียว   คิดได้ดังนี้
จึงลงมือศึกษา  จากเว็บฝรั่งไปเจอเว็บหนึ่งเขาทดสอบ Buffer น่าสนใจ เลยเอาของเขามาลองทำตามดู
มันใช่เลย ใช่ตามที่เราตามหาเสียงในอุดมคติของเรา มันสามารถทำให้แอมป์หลอดธรรมดา ๆ อย่าง
EL34SE หลอดหัวบุ๋ม 2 หลอด ไดร์วด้วย 12AU7 และ 12AX7 มีเสียงออกมาระดับไม่ธรรมดาแล้ว
ดังคำบรรยายคุณภาพของ Buffer ต่อไปนี้

Buffer เพียง 3 หลอด แต่คุณภาพเสียงออกมาจนตลึง ไม่ต้องเชื่อผม ขอให้ทดสอบฟังด้วยหูตนเอง
-เสียงทุ้ม เบสลงลึก ลึกและแน่นแบบนุ่ม ๆ แม้เพลงมีเบสน้อยก็รู้สึกได้ เมื่อก่อนไม่เคยได้ยิน
-เสียงกลางสดใส เสียงร้องอิ่มมีเนื้อ เวทีกว้าง แบ็คกราวน์เด่น แยกชิ้นรายละเอียดดนตรีได้
เช่นเสียงไวโอลินที่เบา ๆคลอก็รู้สึกได้ชัด ทำให้เพลงเพราะมากขึ้น
-เสียงแหลม ปลายกระซิบ ทอดยาวกว่าเดิมมาก
-เป็น Buffer หรือ ตัวปรับ อิมพิแดนซ์ ของเอาพุทของเครื่องเล่นเสียงที่แตกต่างกัน คือมาปรับจูน
ให้ค่าเหมาะกับการขยายสัญญาณให้พอเหมาะ ไม่เพี้ยน หรือแตกพร่า ก่อน
– ปรับความถี่เสียง ระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ 20-20000 Hz ให้ออกมาสมมาตร จึงทำให้ได้ยินชิ้นดนตรี
ในแบ็คกราวน์ของเพลงออกมาเด่นชัด เสียงเบสออกมาสมจริง แน่นลงลึก แต่นุ่มนวลชวนฟังไม่ล้าหู
– ให้ความเป็นอนาลอค ที่แท้จริง เช่นเสียงกลอง เสียงกีต้า เสียงเครื่องเคาะ เครื่องสาย เหมือนจริง
ไม่ออกโทนกระด้างแบบเสียงคอมพิวเตอร์ ยิ่งเสียงพิณ แคน ยิ่งสมจริงเห็นได้ชัดมาก
-ไม่มีเสียงรบกวนใด ๆ เงียบสนิท จนสงัด
-ลองทดสอบแล้วก็ไม่อยากเอาออกจากระบบ เมื่อเอาออก เพลงเหมือนมันไม่เพราะเลย

สนใจแอดไลน์มาคุยกันIDline : kung991

อ.นิคม พ. เรียบเรียง