นักฟังเพลงทำไมจึงนิยมแอมป์หลอด จากแอมป์หลอดแล้วจะไปทางไหน

ความเป็นมาของแอมป์หลอด ได้รับความนิยมมาเมื่อ เกือบร้อยปีก่อน ราวค.ศ 1946(2489) ในสมัยนั้น คนเพิ่งรู้จักเครื่องเสียง
หลังจากเอดิสันผลิต หลอดขึ้นมาและมีบริษัทผลิตหลอดเกิดขึ้นใน เยอร์มัน อังกฤษ และอเมริกา เช่น Telefunken Mullard RCA
หลอดจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง และเครื่องส่งวิทยุ หลอดเจริญรุ่งเรืองมาพอสมควร จนมายุค คศ1958(2501)
ความนิยมลดลง เนื่องจากคนหันไปนิยม เครื่องที่ทำจาก ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต และไอซี เนื่องจาก ใช้แหล่งพลังงานต่ำ ใช้แบตเตอรี่
หรือถ่านไฟฉายก็ได้ ราคาก็ถูกลง ซ่อมบำรุงง่าย ขนาดก็กระทัดรัดกว่า เสียงดังกว่า (วัตต์สูง)

ต่อมาราวปี 2520 หรือ คศ.1977 หลอดกลับฟื้นคืนชีพมาได้รับความนิยมอีก ในเรื่องของเครื่องเสียงบ้าน หรือ สเตริโอ ไฮไฟ เรียกสั้น ๆ
ว่าแอมป์หลอด เพราะ เสียงที่เป็นอนาลอก แท้นี่เอง และได้รับแรงนิยมเพิ่มเป็นทวีคูณ เมื่อความนิยมแพร่กระจายเข้าสู่วงการเครื่องเสียง
ในระดับกลางลงล่าง ทั้ง ๆที่ราคาหลอดกลับถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลอดบางเบอร์ที่ได้รับความนิยมสูงเช่น 300B  2A3 ราคาคู่ละเป็นแสน
ปัจจุบันมีหลอดราคาคู่ละเป็นล้านบาท หลายเบอร์ ทั้ง ๆ เมื่อก่อนหน้านี้ 10 ปี หลอดจะไม่แพงขนาดนี้ สาเหตุเพราะหลอดเป็นสินค้า
ที่ไม่มีการผลิตแล้ว โรงงานเลิกผลิตมาหลายสิบปีมาแล้ว จะมีในตลาดบ้างก็พวก เก่าเก็บ(NOS=New Old Stock)(NIB=New In Stock)
แต่พวกนี้จะราคาแพงสุด ๆ และในปัจจุบันมีโรงงานเกิดใหม่ ที่ จีน และ รัสเซีย หลายโรงงาน ด้วยกันกำกลังแข่งกันผลิตหลอดออกป้อนตลาด
แต่ที่นัก DIY ได้ใช้กันก็จะเป็นหลอดที่ใช้แล้ว (USED) แกะออกมาจากเครื่องเก่า เช่นเครื่องเสียงงานวัดสมัยก่อน ที่ทิ้งแล้ว แต่แกะเอาหลอดมา
วางขายในเพ็จ DIY ซื้อไปทำเครื่องกัน ในราคามิตรภาพ 200-1500 บาท/คู่ แล้วแต่เบอร์และเกรด ยี่ห้อ และสภาพ บางทีนัก DIY ก็ปวดหัว
เพราะซื้อหลอดมาทำแล้วเครื่องเสียงเสียงสองข้างไม่เท่ากัน เพราะหลอดมีสภาพแตกต่างกัน อายุการใช้งานไม่เท่ากัน โครงสร้างแตกต่าง
เสื่อมสภาพมาก บางทีอาจมีการฮัม มีเสียงรบกวนอื่น ๆ  บางคนได้หลอดสภาพดี หรือหลอด NOS NIB ก็ดีไป

ประเภทนักเล่นเครื่องเสียงแล้วยอมยกนิ้วให้กับเครื่องเสียงหลอดสุญญากาศ หรือที่เรียกกันว่าแอมป์หลอด
เพราะตอบสนองความรู้สึกฟังเพลงที่มีเอกลักษณ์ที่มีเสน่ เป็นเสียงอนาลอก อย่างแท้จริง สมจริง ทั้งออกแนว
หวาน ละเมียดละไม หรืออกแนวเสียงห้าว ดุดัน รายละเอียดของเสียงดนตรี ออกมาครบ บางเสียงเราไม่เคยได้ยิน
ในเครื่องเสียง โซลิตสเต็ด (SOLID STATE)พวก ไอซี มอสเฟต ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นนักเล่นทั้งหลาย
รวมทั้งนัก ดีไอ วาย (DIY)ก็จะคลั่งไคล้หลงใหลหลอดสุญญากาศแทบทุกชาติทุกภาษา รวมทั้งไทยเราด้วย
ถ้าคุณได้ลองเข้าไป เสริชในอีเบย์ อลีบาบา แล้วจะเห็นว่ามีวางขายอุปกรณ์แอมป์หลอดมากมาย

มีหลายคนที่เคยฟังเพลงจากเครื่อง solid state หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เครื่อง ss พอมาฟังเพลงเครื่องแอมป์หลอด  บอกว่าอยากกลับ
บ้านไปทุบเครื่องเสียง ss ของตนทิ้ง  เพราะอรรถรสของดนตรีได้มันคนละอย่างกับที่เคยฟังที่ว่าเพราะแล้ว แอมป์หลอดเพราะมากกว่า
จนต้องขนขวายหาเงินซื้อแอมป์หลอดมาเป็นของตนเอง  หรือบางคนก็ผันมาเป็นนัก DIY แอมป์หลอดซะเลย
อย่างผู้เขียนก็มาแบบนี้เช่นกัน  เมื่อ 3 ปีก่อนไม่รู้จักแอมป์หลอด และไม่เคยฟัง  พอได้ฟังแล้วไม่ใช่ติดเท่านั้น
โดดเข้ามาเล่นวงในเลย  แอมป์ตามภาพข้างล่าง ก็ทำมากับมือ  ใครอยากเข้ามาวงการนี้ปรึกษาได้นะครับ
ตามช่องทางที่ให้ไว้ในเว็บไซต์นี้

เครื่องข้างบน หลอด KT88 และ  EL34เสียงดีมาก


 

มาบัดนี้ NUTUBE เกิดขึ้นมาแล้ว เจ้าตัวนี้ พัฒนาโดย KORG แบรนด์คีย์บอร์ดจากญี่ปุ่น ซึ่งทำงานเหมือนหลอด Triode แบบดั้งเดิม
เสียงออกมาเหมือนหลอดสุญญากาศ แถมมีโทนอบอุ่นกว่า หนากว่า แต่ตัวเล็กกว่า ประหยัดพลังงานกว่า หาพลังงานได้ง่ายกว่า
กล่าวคือใช้ไฟ 5 – 80v/12-17mA   หลอดรุ่นเดิมใช้ 150-1500v/200-1000mA เป็นต้น อายุการใช้งานก็ยาวนานกว่า
หลอดดั้งเดิม 500-1500 ช.ม.แต่ NUTUBE มีอายุใช้งานถึง 30,000 ช.ม

NUTUBE คือนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความฮือฮามากๆ กำลังคืบคลานเข้ามาแทนที่หลอดสุญญากาศ ประหยัดกว่า สะดวกกว่า
เสียงสมจริงกว่า จะจริงแค่ไหน จะปล้ำหลอดสุญญากาศลงได้จริงหรือไม่ ดูกันต่อไป เวลาเป็นเครื่องตัดสิน

.

 

วงจรภายใน

ประกอบเป็นเครื่องขยายเสียง ขนาดเล็ก  กำลังขยาย 50 วัตต์/ข้าง

 

ราคาขาย คิดเป็นเงินบาท ณ เดือน 07/2019

 

สเปคของ NUTUBE

อ.นิคม พ.  เรียบเรียง